ประวัติโรงพยาบาลกุดบาก

โรงพยาบาลกุดบากเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2526 ที่ดินเป็นที่สาธารณะมีเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ เริ่มเปิดให้บริการในฐานะโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียง

เมื่อ พ.ศ.2527 และยกระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง เมื่อ พ.ศ.2536 ปัจจุบันยังคงเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง

สังกัดกองสาธารณสุขภูมิภาค กรมสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลกุดบาก เลขที่ 249 หมู่ที่ 1 ต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร

มีนายแพทย์ธนวรรษ หาญสุริย์ ปฎิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกุดบากเป็นแทพย์ประจำ มีแทพย์ประจำทั้งหมด จำนวน 3 คน

1.นายแพทย์นันทิวุติ โฆษะปัญญาธรรม ดำรงตำแหน่ง 1 เม.ย.2527 – 1 เม.ย.2529
2.นายแพทย์ฉัตรชัย โรจนมณเทียร ดำรงตำแหน่ง 2 เม.ย.2529 – 1 เม.ย.2530
3.นายแพทย์ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ ดำรงตำแหน่ง 2 เม.ย.2530 – 15 ม.ค.2537
4.นายแพทย์สมนึก กล่ำทวี ดำรงตำแหน่ง 16 ม.ค.2537 – 30 ก.ย.2538
5.นายแทพย์พันธ์นพ ควรดำรงธรรม ดำรงตำแหน่ง 3 ต.ค.2538 – 30 เม.ย.2541
6.นายแทพย์สมเกียรติ ชูบัณฑิตกุล ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2538 – 30 เม.ย.2541
7.นายแพทย์สมบูรณ์ วุฒิพิริยะอังกูร ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2541 – 4 พ.ค.2545
8.นายแทพย์ฐิติกณัฏฐ์ ชวนันทการุญ ดำรงตำแหน่ง 5 พ.ค.2545 – 30 เม.ย.2546
9.นายแพทย์มนต์ชัย เรืองชัยนิคม ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2546 – 2 มิ.ย.2547
10.แพทย์หญิงกรรณิการ์ ฝ่ายเทศ ดำรงตำแหน่ง 3 มิ.ย.2547 – 28 ก.พ.2549
11.แพทย์หญิงทิพวรรณ บวรกิติวงศ์ ดำรงตำแหน่ง 1 มี.ค.2549 – 30 เม.ย.2549
12.นายแพทย์ดนัย ไชยพันธุ์ ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2549 – 31 พ.ค.2550
13.นายแทพย์อุดมศักดิ์ วิจิตรเศรษฐกุล ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2550 – 1 เม.ย.2551
14.นายแทพย์วสัต์ โกสีย์ไกรนิรมล ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2551 – 30 เม.ย.2552
15.นายแพทย์ปริญญา โชควิริยะประเสริฐ ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2552 – 30 เม.ย.2554
16.นายแพทย์นพรัตน์ ลอดวิชัย ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2554 – 1 เม.ย.2554
17.แพทย์หญิงอมรลักษณ์ กระแสร์ลาภ ดำรงตำแหน่ง 1 ต.ค.2554 – 1 เม.ย.2555
18.นายแพทย์ธนวรรษ หาญสุริย์ ดำรงตำแหน่ง 1 พ.ค.2555 – ปัจจุบัน

 

ประเภทสถานบริการ จำนวน(แห่ง)
โรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง 1
สถานีอนามัย 5
ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน 39
รวม 45

 

ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ

อำเภอกุดบากมีพื้นที่ทั้งหมด 455 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดสกลนคร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอต่างๆดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอนิคมน้ำอูน และอำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร

ทิศใต้ ติดต่อกับอำภูพาน จังหวัดสกลนคร

ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

หนาวและร้อนจัดในฤดูร้อน ฝกตกชุกในฤดูฝน

การคมนาคม

อำเภอกุดบากมีทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดผ่าน ถนนเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต ทำให้การเดินทางส่วนใหญ่ค่อนข้างสะดวก แต่ยังมีสภาพถนนบางสายที่สภาพถนนไม่ดีเป็นหลุมเป็นบ่อมาก โดยเฉพาะถนนสายกุดบาก – ห้วยยาง ที่จะเดินทางเข้าตัวจังหวัด ทำให้เกิดความล่าช้าในการเดินทาง

กลุ่มชาติพันธุ์

ชนพื้นเมืองดั้งเดิมเป็นเผ่ากะเลิง

ขนบธรรมเนียมประเพณี

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ยังมีประชากรบางส่วนที่ยังนับถือผี ประกอบพิธีกรรมทางพราหมณ์ มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ความเชื่อ ประเพณีและวิถีชีวิตบางอย่างยังมีอิทธิพลต่อการพัฒนาทางด้านสาธารณสุข และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพอย่างมาก

 

สารเสพติดและสารกระตุ้นมีส่วนทำลายหัวใจ

การใช้สารเสพติดหรือสารกระตุ้นจำพวกสปีด ที่เป็นยาประเภทแอมเฟตามีน, ยาเอ็กซ์ตาซี่ อย่างยาอี ยาเลิฟ หรือยาไอซ์ เพื่อให้อารมณ์เบิกบานนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายหรือการใช้ชีวิตแต่อย่างใด

Read more

มะขามเทศ ผลไม้มากประโยชน์ ผลไม้ริมทางทั่วไปพบเห็นได้ทั่วทุกภาค ปลูกง่าย โตเร็ว ทนทาน จัดเป็นผลทีมีวิตามินซี

ผลไม้ริมทางทั่วไปพบเห็นได้ทั่วทุกภาค ปลูกง่าย โตเร็ว ทนทาน จัดเป็นผลทีมีวิตามินซีและอีสูง ช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ เส้นใยอาหารที่มีอยู่มากดีต่อระบบขับถ่าย ส่วนแคลเซียมและเหล็กช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและโลหิตจาง

สรรพคุณทางยา

– เปลือก หมอพื้นบ้านใช้เปลือกมาต้มน้ำแล้วอมแก้ปากเปื่อย แผลในปาก แก้ปวดฟัน ดื่มแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน หรือใช้ล้างแผล เปลือกต้มกับน้ำรวมกับเปลือกข่อยและเกลือแกง แล้วนำมาอมแก้ปวดฟัน

– ราก แก้ท้องร่วง กระชับโลหิต และน้ำเหลือง

– เนื้อหรือผล ช่วยบำรุงผิวพรรณ เล็บ เส้นผม ช่วยซ่อมแซมเซลล์ร่างกาย ลดระดับคอเลสเตอรอล ปัองกันการอ่อนเพลียร่างกาย นอกจากนี้ยังใช้ฝักแก่จัดนำมาโขลกพอกหน้าได้อีกด้วย

– ดอกและใบอ่อน ใช้ทำยาย้อมผมหรือยาสระผม เป็นยาย้อมผ้า แห อวน

– เมล็ดแก่ นำมาคั่วกระเทาะเปลือก กินเป็นยาถ่ายพยาธิในท้องเด็ก

ที่มา : มูลนิธิหมอชาวบ้าน

1 58 59 60 61