ยาวาร์ฟาริน 2 มิลลิกรัม

ยาวาร์ฟาริน  2 มิลลิกรัม (warfarin 2 mg) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ใช้ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดซึ่งอาจไปอุดตันตามเส้นเลือดของร่างกาย เช่น สมอง ปอด ขา หรือที่ลิ้นหัวใจเทียม

war2 war1

ข้อบ่งใช้ที่สำคัญ

  • หลังผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม
  • โรคลิ้นหัวใจรูมาติค (RHD)
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (AF)
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
  • เส้นเลือดในปอด
  • เส้นเลือดแดงบริเวณแขน ขา หรือเส้นเลือดดำใหญ่อุดตันจากลิ่มเลือด
  • ประวัติเส้นเลือดสมองอุดตันจากลิ่มเลือด
  • ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

การหักแบ่งเม็ดยาเป็นเศษส่วน

หากลืมทานยาควรทำอย่างไร

กรณีลืมทานยาไม่เกิน 12 ชม.ให้รีบทานทันทีที่นึกขึ้นได้ ในขนาดยาเท่าเดิม

กรณีลืมทานยาเกิน 12 ชม.ไปแล้วให้ข้ามยามื้อนั้นไปเลย และทานมื้อต่อไปในขนาดเดิม เวลาเดิม และจดบันทึกทุกครั้งที่ลืมทานยา และนำมาแจ้งให้แพทย์ทราบ

ตัวอย่างกรณีลืมทานยา

หากปกติท่านทานยาวาร์ฟาริน เวลา 8 โมงเช้า ของทุกวัน กรณีลืมทานยาแต่ยังไม่เกินเวลา 2 ทุ่ม ให้ท่านทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้ จากนั้นเวลา 8 โมงเช้าของอีกวัน ท่านก็สามารถทานยาได้ในขนาดเท่าเดิม โดยไม่เพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน

  1. มาตรวจตามแพทย์นัด เพื่อติดตามค่าการแข็งตัวของ เลือดที่เรียกว่าค่า ไอเอ็นอาร์ (INR) ซึ่งใช้บอกถึงประสิทธิภาพของการรักษาด้วยยาวาร์ฟาริน และเป็นค่าที่แพทย์ใช้พิจารณาปรับขนาดยา
  2. ท่านต้องทานยาอย่างต่อเนื่อง และสังเกตอาการผิดปกติ

อาการเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือดหรือเป็นสีดำ มีรอยช้ำตามตัวเป็นจ้ำๆ ประจำเดือนผิดปกติ ไอเป็นเลือด เป็นต้น

อาการลิ่มเลือดอุดตัน เช่น ปวดศีรษะเฉียบพลัน หรือ เวียนศีรษะ อาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ออก พูดไม่ชัด หรือมองเห็นภาพซ้อน เป็นต้น

*** หากเกิดอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที ***

  1. หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ

ข้อควรระวัง

  1. อาหารและยาที่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน

อาหาร : ที่มีวิตามินเคและอี สูงมีผลต้านฤทธิ์ยา

พืชผักใบเขียว เช่น กระถิน ชะอม ผักกะเฉด สะตอ ผักโขม ผักสลัดใบเขียว บล็อกโคลี กะหล่ำปลี ผักกาดหอม ผักคะน้า สาหร่ายทะเล

กลุ่มไขมัน และน้ำมัน (วิตามินอีสูง): น้ำมัน         ถั่วเหลือง น้ำมันตับปลา น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก

กลุ่มโปรตีน : ถั่วเมล็ดแห้ง ปลาทูน่าในน้ำมันตับหมู

กลุ่มอาหารที่ปรุงแล้ว : น้ำซอสราดสลัด

แต่อาหารเหล่านี้ไม่ได้เป็นข้อห้าม เพียงแต่ควรทานในปริมาณเท่าเดิมในแต่ละวัน

อาหารที่มีผลต่อระดับยาวาร์ฟาริน

ยาสมุนไพร ยาต้ม ยาลูกกลอน ยาชุด ยาแผนโบราณ อาหารเสริม หรืออาหารสมุนไพรสกัดบางชนิด เช่น      สารสกัดจากกระเทียม โสม ใบแปะก๊วย หรือสมุนไพรจีน

ยา : ยาที่เพิ่มฤทธิ์ยาวาร์ฟาริน เช่น

ยาแก้ปวด เช่น Indomethacin, piroxicam,Diclofenac, Ibuprofen

ยาฆ่าเชื้อ เช่น Co-trimoxazole, Ciprofloxacin

ยาหัวใจ เช่น Amiodarone, Aspirin

ยาที่ลดฤทธิ์ยาวาร์ฟาริน เช่น

ยากันชักบางตัว เช่น Carbamazepine, Phenytoin

ยาฆ่าเชื้อบางตัว เช่น Rifampicin, Griseofulvin

  1. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
  2. ยานี้มีผลต่อทารกในครรภ์ โดยอาจทำให้เด็กพิการได้ ดังนั้นหากท่านตั้งครรภ์หรือต้องการจะมีบุตรควรปรึกษาแพทย์

การเก็บรักษายา

  • เก็บยาให้พ้นแสง และความชื้น
  • เก็บยาไว้ในซองสีแดงหรือขวดยาที่โรงพยาบาลจัดให้

เก็บยาให้พ้นมือเด็ก

*** รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

*** ไปพบแพทย์เพื่อรับยาต่อเนื่องและตรวจเลือดตามนัดทุกครั้ง

*** รายงานปัญหาที่เกิดขึ้นทุกครั้งรวมทั้งการลืมทานยา

*** บอกแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาลว่าท่านกำลังใช้ยาวาร์ฟารินอยู่ในขณะนี้

มีข้อสงสัยเรื่องยาสามารถติดต่อได้ที่แผนกเภสัชกรรม

เบอร์โทร : 042-784021 ต่อ 113

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *